ยินดีต้อนรับ

พบกันอีกครั้งสำหรับนักเรียนที่น่ารักของครู วันนี้ขอให้ นักเรียนมีความสุขกับการเรียนระบบ Weblog ที่ครูตั้งใจนำเสนอนะคะ

















วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

อักษรไทย

ประวัติตัวอักษรไทย


เดิมชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนซึ่งทุกวันนี้เป็นอาณาเขตจีนข้างฝ่ายใต้ ในราว พ.ศ.
2400 พวกจีนมีอำนาจมากขึ้น พวกไทยไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจจีน จึงพร้อมใจกันอพยพจากเมืองเดิมมา
ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศพม่า มอญ ลาว มากขึ้นตามลำดับ
พวกหนึ่งตั้งภูมิลำเนาอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน และต่อไปในแดนพม่าจนถึงแดนอัสสัม เรียกว่า
“ไทยใหญ่” อีกพวกหนึ่งตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแดนตังเกี๋ย สิบสองเจ้าไท สิบสองปันนา เรียก “ไทยน้อย”
ต่อมาอพยพลงมาถึงดินแดนลานช้าง ลานนา และสยามประเทศ (ไทยกลาง) นอกจากนี้ยังมีไทยอยู่
ในแดนจีน ตังเกี๋ย พม่า มณฑลอัสสัม อินเดีย ยังพูดภาษาไทยด้วยกันทั้งสิ้น เป็นแต่สำเนียงเท่านั้นที่
ผิดเพี้ยน
ส่วนตัวอักษรที่พวกไทยใช้อยู่ทุกวันนี้ก็มีหลายอย่างมีเค้ามูลต่าง ๆ กัน แบบอักษรไทยซึ่งพ่อขุน
รามคำแหงทรงประดิษฐ์นั้นเป็นอักษรของพวกไทยกลาง ยังมีอักษรของพวกไทยใหญ่และไทยเหนืออีก
ต่างหากแต่ล้วนอาศัยแบบตัวอักษรซึ่งได้จากอินเดียทั้งสิ้น
แผนภูมิกำเนิดตัวอักษร

สรุปลักษณะอักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ต่างจากปัจจุบัน

1. สระและพยัญชนะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน เขียนติดต่อกันไปโดยไม่เว้นวรรค
2. สระวางไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอา (สมัยพระยาลิไท เปลี่ยนไว้ข้างบน ข้างใต้ (คือสระอิ, อี, พินทุ์อิ,
ไม้มลาย, ไม้ม้วน ไม้โอคงเดิม สมัยพระนารายณ์มีการปฏิรูปตัวอักษรครั้งใหญ่)
3. วรรณยุกต์มี 2 รูป คือ รูปเอก รูปโท
4. สระอะ เมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน 2 ตัว เช่น ขบบ (ขับ), หนงง (หนัง) ฯลฯ
5. สระเอีย ถ้าไม่มีตัวสะกด ใช้ เช่น มยย สยย
ถ้ามีตัวสะกด ใช้ ย เช่น สยง (เสียง) ดยว (เดียว)
6. สระอือ, ออ ไม่มีตัวสะกดไม่มี อ เคียง เช่น ชื่, พ่ ท่
7. สระอัว ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว ตวว หวว ววว
8. สระอึ ไม่มีใช้ ใช้ อี หรือ อื แทน เช่น จิ่ง, ขื้น
9. นฤคหิต แทน ม เช่น กลํ (กลม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น