ยินดีต้อนรับ

พบกันอีกครั้งสำหรับนักเรียนที่น่ารักของครู วันนี้ขอให้ นักเรียนมีความสุขกับการเรียนระบบ Weblog ที่ครูตั้งใจนำเสนอนะคะ

















วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ในหลวงของฉัน

นักเรียนคงเห็นภาพพ่อหลวงจนชินตาแต่จะมีสักภาพไหมที่ทำให้เราหัวใจพองโต มีกำลังใจที่จะทำงานต่อไปโดยลืมความเหนื่อยยาก สำหรับครูแล้วต้องภาพนี้เลย........




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คิดดี

คิดดี

คิดดี... ไม่เพียงแต่ทำให้เบิกบานได้ทั้งวัน กับการคิดว่า "ทุกสิ่งนั้นดี" และไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ก็เพียงแค่รักษารอยยิ้มเอาไว้ คิดดี... แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องของจิตใจ ทัศนคติ ความเข้าใจชีวิต การจัดการกับปัญหา ที่จะทำให้ชีวิต ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป แต่กลายเป็นโอกาสในการเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา คิดดี... สอนให้มี การกระทำ แทนที่จะ เป็นเพียง การโต้ตอบ การทำให้ตนเองมีความมั่นคง อีกครั้ง แทนที่จะถูกอิทธิพลของใครหรือสถานการณ์ใด นำพาเราไป คิดดี... ไม่ได้ทำให้ นิ่ม หรือ อ่อนแอ แต่ตรงกันข้าม กลับทำให้เข้มแข็งและอยู่เหนืออิทธิพลของผู้อื่นมากขึ้น เมื่อมีความเข้าใจ และมีประสบการณ์ ของคุณสมบัติที่ดีหรือพลังภายในของตนเองอย่างแท้จริง คิดดี... ทำให้มองดูชีวิตในแง่บวกตลอดเวลา ในขณะที่ผู้คนมากมายมักมุ่งความสนใจไปที่ ความผิดปรกติ ความเจ็บปวด หรือประสบการณ์ที่ไม่ดี ในชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตราย ก็เพราะเราอาจติดกับ หรือจมอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นลบ จนตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลของสิ่งนั้นอย่างสิ้นเชิง คิดดี... ไม่ใช่การปฏิเสธ หรือการเก็บกดประสบการณ์ในอดีตไว้ แต่กลับกระตุ้นเราให้เผชิญกับอดีต จากจุดยืนที่เข้มแข็งภายในและความเข้าใจชีวิต ด้วยการถามตนเองว่า "ฉันต้องการอะไรสำหรับชีวิตที่มีอยู่" เราก็สามารถเริ่มต้นที่จะก้าวหน้าไปสู่อนาคตที่สว่างไสว

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

อักษรไทย

ประวัติตัวอักษรไทย


เดิมชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนซึ่งทุกวันนี้เป็นอาณาเขตจีนข้างฝ่ายใต้ ในราว พ.ศ.
2400 พวกจีนมีอำนาจมากขึ้น พวกไทยไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจจีน จึงพร้อมใจกันอพยพจากเมืองเดิมมา
ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศพม่า มอญ ลาว มากขึ้นตามลำดับ
พวกหนึ่งตั้งภูมิลำเนาอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน และต่อไปในแดนพม่าจนถึงแดนอัสสัม เรียกว่า
“ไทยใหญ่” อีกพวกหนึ่งตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแดนตังเกี๋ย สิบสองเจ้าไท สิบสองปันนา เรียก “ไทยน้อย”
ต่อมาอพยพลงมาถึงดินแดนลานช้าง ลานนา และสยามประเทศ (ไทยกลาง) นอกจากนี้ยังมีไทยอยู่
ในแดนจีน ตังเกี๋ย พม่า มณฑลอัสสัม อินเดีย ยังพูดภาษาไทยด้วยกันทั้งสิ้น เป็นแต่สำเนียงเท่านั้นที่
ผิดเพี้ยน
ส่วนตัวอักษรที่พวกไทยใช้อยู่ทุกวันนี้ก็มีหลายอย่างมีเค้ามูลต่าง ๆ กัน แบบอักษรไทยซึ่งพ่อขุน
รามคำแหงทรงประดิษฐ์นั้นเป็นอักษรของพวกไทยกลาง ยังมีอักษรของพวกไทยใหญ่และไทยเหนืออีก
ต่างหากแต่ล้วนอาศัยแบบตัวอักษรซึ่งได้จากอินเดียทั้งสิ้น
แผนภูมิกำเนิดตัวอักษร

สรุปลักษณะอักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ต่างจากปัจจุบัน

1. สระและพยัญชนะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน เขียนติดต่อกันไปโดยไม่เว้นวรรค
2. สระวางไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอา (สมัยพระยาลิไท เปลี่ยนไว้ข้างบน ข้างใต้ (คือสระอิ, อี, พินทุ์อิ,
ไม้มลาย, ไม้ม้วน ไม้โอคงเดิม สมัยพระนารายณ์มีการปฏิรูปตัวอักษรครั้งใหญ่)
3. วรรณยุกต์มี 2 รูป คือ รูปเอก รูปโท
4. สระอะ เมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน 2 ตัว เช่น ขบบ (ขับ), หนงง (หนัง) ฯลฯ
5. สระเอีย ถ้าไม่มีตัวสะกด ใช้ เช่น มยย สยย
ถ้ามีตัวสะกด ใช้ ย เช่น สยง (เสียง) ดยว (เดียว)
6. สระอือ, ออ ไม่มีตัวสะกดไม่มี อ เคียง เช่น ชื่, พ่ ท่
7. สระอัว ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว ตวว หวว ววว
8. สระอึ ไม่มีใช้ ใช้ อี หรือ อื แทน เช่น จิ่ง, ขื้น
9. นฤคหิต แทน ม เช่น กลํ (กลม)

ตลาดน้ำอัมพวา

"ตลาดน้ำอัมพวา "

ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้ ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น"

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก



ตลาดน้ำดำเนินสะดวก/ DAMNOEN SADUAK FLOATING MARKET
ตลาดน้ำดำเนินสะดวกหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ตลาดน้ำคลองลัดพลี มีมานานกว่า 100 ปีเศษมาแล้ว ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอไปทางทิศตะวันออก 400 เมตรตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ที่คลองดำเนินสะดวกเหมาะที่จะไปเที่ยว ชมในเวลาเช้า เนื่องจากแดดไม่ร้อนและมีเรือขายสินค้าเป็นจำนวนมาก คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองที่เชื่อม แม่น้ำท่าจีน กับแม่น้ำแม่กลอง เริ่มตั้งแต่ประตูน้ำบางยาง แม่น้ำท่าจีน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถึงประตูน้ำบางนกแขวก แม่น้ำแม่กลอง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามทำให้ประชาชนในจังหวัด ราชบุรี สมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงครามติดต่อถึงกันโดยสะดวกขึ้น ตลอดสองฝั่งคลองดำเนินสะดวก ที่มีความยาว 32 กิโลเมตรนี้ มีคลองซอย คลองเล็ก คลองน้อย แยกออกไปประมาณ 200 คลองเช่น คลอง สี่หมื่น คลองทองหลาง คลองโพธิ์หัก คลองขุน-พิทักษ์ คลองศรีราษฎร์ คลองลัดราชบุรี คลองฮกเกี้ยน ฯลฯ

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามตลาดน้ำคลองต้นเข็ม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯราว 80 กิโลเมตร ในราวปี พ.ศ. 2409 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองดำเนินสะดวกระยะทางกว่า 32 กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่บางนกแขวกกับแม่น้ำท่าจีนที่ประตูน้ำบางยาง และมีคลองซอยเล็ก ๆ มากมาย ทำให้ชาวบ้านในราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร สามารถติดต่อกันทางน้ำได้สะดวก
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อม บรรทุกสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลกเปลี่ยนสินค้าในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเริ่มค้าขายตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงช่วงประมาณ 12.00 น. ส่วนตลาดน้ำวัดปราสาทสิทธิ์ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตเดิม ๆ อยู่มากจะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ และจะวายตั้งแต่ก่อน 08.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอำเภอดำเนินสะดวก โทร. 0 3224 1023, 0 3234 6161